ยินดีต้อนรับ สู่ ปักษ์ใต้เมืองพระ

ยินดีต้อนรับ สู่ พระเมือง ใต้เป็นบล็อกที่รวมเกี่ยวกับประวัติและวัตถุมงคลของพระในภาคใต้ ที่เป็นที่รู้จัก และไม่ค่อยรู้จัก
เป็นเว็บที่รวบรวมพระเครื่อง พระเหรียญ ดังๆ ต่างๆในภาคใต้เอาไว้

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

เจ้าสายเอวแห่งปากพนัง

  



พระครูพรหมจรรยาภิวัฒน์ (เมือง โกมโก) วัดมุขธาราราม(วัดปากบางท่าพญา) ภูมิกำเนิดเกิดที่ปากพนัง ที่บ้านท่าพญาใน ต.บ้านเพิง จ.นครศรีฯ เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๐ อาชีพทางครอบครัวคือทำนา โดยที่บิดาชื่อนาย รักษ์ มารดาชื่อนางอิ่ม ถึงแม้ว่าฐานะทางบ้านจะไม่ได้ร่ำรวยมากนัก แต่ท่านก็มั่นใผ่หาความรู้จากครูบารอาจารย์ที่มีชื่อในระแวกนั้นทำให้เป็นเด็กหนุ่มที่มีความรู้ทงด้านไศยศาตรเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะว่าคนสมัยก่อนมักจะเป็นนักเลงที่ชอบตีรันฟันแทง เรื่องค่านิยมทางคุณไสย์ และศาสตร์ทางอยู่ยงคงกะพันจึงเป็นที่นิยมทำกัน
เมื่ออายุเข้าวัยหนุ่มได้เข้ารับการอุปสมบทที่วัดท่าพญาในประมาณปีพ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีพ่อท่าน นุ่น วัดแจ้งเป็นพระอุปชฌาย์ พ่อท่านไข่ วัดนาควารี(ที่รู้จักกันดีในนามวัดหูล่อง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพ่อท่านลาย วัดหอยกัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อครั้งได้บวชก็ได้อยู่จำพรรษา เรียนวิชาและศาสตร์ต่างๆกับพ่อท่านนุ่น ที่วัดแจ้งและเข้ารับการเรียนหนังสือทางธรรมที่วัดท่าโพธิ์ กับท่านเจ้าคุณม่วง(พระรัตนธัชมนี) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ่อท่านเมืองท่านมีชื่อเสียงตั้งแต่หนุ่มเมื่อได้รับการบวชเรียนในทางธรรมในร่มกาสาวพัฒณ์ ท่านมีความชำนาญในเรื่องหมอแผนโบราณ และทางโหรศาสตร์ และทางด้านไสยศาสตร์ก็เป็นที่เลื่องลือกันทั้งบางท่าพญา จึงทำให้ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดท่าพญาใน เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๕ ทั้งๆที่เพิ่งจะบวชได้เพียง๕ พรรษาเท่านั้น ภายในปีเดียวกันนั้นท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ เพราะว่าท่านเป็นพระที่คงแก่เรียนในทางด้านธรรมศาสนาจนเป็นที่ยอมรับไม่น้อยไปกว่าทางด้าน ไสยศาสตร์ที่โด่งดังในเรื่องหนังเหนียวเป็นอย่างยิ่ง
พระเกจิในยุคเดียวกับท่านที่มีความสนิทสนมกันก็มี พ่อท่านเขียว วัดหรงบน พ่อท่านขาว วัดปากแพรก และพระครูนนท์ วัดนันทราราม แล้วนอกจากนั้นท่านเองก็มีความสนิมสนมกับพ่อท่านคล้าย วัดสวนขันติ์ ด้วยเพราะวิชาคุณต่างๆที่อยู่ในขั้นสูงเมื่อเจอะเจอกันครั้งใด ก็ทักทายเหมือนกับว่าท่านทั้งสองสนิมสนมรู้จักกันเป็นอย่างดี




พ่อท่านเมืองเป็นที่เคารพนับถือมากในชุมชนบางท่าพญา ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านโด่งดังมาทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และเป็นที่ยอมรับขยายวงกว้างไปในจังหวัดต่างๆเช่น พัทลุง สุราษฎร์ ปัตตานี ตรัง สงขลา ฯลฯซึ่งท่านมักจะได้รับการนิมนต์ไปทำพิธีพุทธาภิเษก ในการปลุกเสกวัตถุมงคล เพราะบรรดาลูกศิษย์เหล่านั้นเชื่อมั่นในวิชา และพุทธคุณที่แข็งกล้าของพ่อท่านเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายตำรวจหนวดงาม หรือนายตำรวจหนังเหนียวนามว่า ขุนพันธ์
มักจะติดตามพ่อท่านเมืองไปทำพิธีกรรมต่างๆอยู่เนื่องๆคอยเป็นผู้ช่วยหยิบข้าวของต่างรับใช้พ่อท่านเมืองอย่างใกล้ชิด นั้นแสดงให้เห็นว่าขุนพันธ์คงจะ รู้อะไรลึกๆบางในกฤตยาคม แห่งวิชาคงกะพันที่ได้รับจากพ่อท่านเมืองเป็นแน่แท้








ทางด้านวัตถุมงคลที่พ่อท่านเมืองได้สร้างเอาไว้


ในยุคแรกๆเลยเห็นจะหนีไม่พ้น ตระกรุด สายคาดเอว ผ้ายัญต์ เพราะว่าทำง่ายแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาที่เข้ามาขอของดีจากท่านได้รวดเร็ว อีกประการหนึ่งคือชาวปากพนังอยู่ใกล้ทะเล เพราะฉนั้นฝีมือในการทำตระกรุด สายคาดเอว จึงทำได้ง่ายเพราะเป็นภูมิปัญญาคนเลที่ต้องทำถักอวนหาปลา ของคนท้องถิ่นที่นั้นและก็ทำได้สวยงาม หรืออาจจะเป็นลูกอมชานหมากหรือลูกอมเทียนต่างๆ ซึ่งเครื่องมงคลวัตถุต่างๆที่รับจากท่านล้วนเป็นที่หวงแหนของคนที่ได้ไปเพราะต่างไปประสบพบกับเหตุการณ์ต่างๆทั้งแคลวคลาดและคงกระพัน นักเลงแถวปากพนังทราบกันดีว่าสุดยอดแห่งความเหนียวซึ่งออกไปทางชาตรีโดยแท้จริง

ก่อนปีพ.ศ. ๒๕๑๐ ท่านได้สร้างเหรียญครั้งแรกซึ่งนับได้ว่าน้อยมากๆ เป็นเหรียญรูปไข่ หน้าตรงครึ่งองค์ท่าน ขอบด้านล่างเขียนเอาไว้ว่า พระครูพรหมจรรยาภิวัฒน์ ส่วนด้านหลังเป็นลักษณ์ยันต์ใรพระพุทธรูปพุทธสิงหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ในวัดของท่านนั้นเอง จำนวนการสร้างนั้นอยู่ที่หลักร้อย




และก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ท่านก็ได้สร้างพระกริ่งรูปหล่อรมดำ พุทธลักษณ์เป็นแบบนั้งสองมือประที่เข่าทั้งสองข้าง ด้านล่างเขียนหลวงพ่อเมือง ใต้ฐานพระรูปหล่อนี้เจาะรูอุดกริ่งเสียงดังกังวาล
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้สร้างเหรียญรูปโล เป็นเนื้ออัลปาก้า ถือได้ว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ออกที่วัดบางปากพญาและมีทยอยสร้างออกมาเรื่อยๆเพื่อแจกจ่ายในงานบุญในวันต่างๆ โดยใช้บล็อดเดียวกัน
ส่วนรุ่นสองสร้างที่วัดเช่นเดียวกันออกมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ แต่มีเปรียนแปลงที่ข้อความเป็นพ่อท่านเมือง วัดปากบางท่าพญา
แทน และรูปแบบด้านหลังยังคงยึดแบบเดิมเอาไว้
นอกจากนั้นหลังจากพ่อท่านมรณภาพไปก็ได้มีการสร้างขึ้นมาอีกหลายๆครั้ง เพื่อให้เป็นที่ระลึกถึงพระเดชพระคุณที่พ่อท่านเมืองสร้างเอาไว้
พวกกลุ่มเครื่องลางต่างๆเช่น ผ้ายันต์ สายคาดเอว รูปถ่ายขนาดเล็ก และใหญ่ และรอยมือรอยเท้า ท่านทำออกมาจากแก่บรรดาลูกศิษย์ที่ไปกราบไว้ขอของดีจากท่านซึ่งท่านก็ทำออกมาแจกเรื่อยๆในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
ตะกรุด ทำน้อยหาดูยาก เพราะคนที่ได้ไปก็มักจะเก็บเอาไว้ไม่เคยยกให้กันฟรีๆนอกจากตกทอดอยู่กันภายในวงตระกลู
พ่อท่านเมืองท่านเป็นนักพัฒนาท่านได้สร้างวัดขึ้นมาแห่งหนึ่งที่บริเวณ ปากบางท่าพญา ชื่อว่า วัด"มุขธาราม" เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๒ และท่านก็ได้อยู่จำวัดที่ท่านสร้างมาจนท่านสิ้นจากไปในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านมรณภาพจากไปอย่างสงบ นับได้ ๖๕ พรรษา อายุรวมแล้ว ๘๕ ปี

             วัตถุมงคล

ก่อนรุ่นแรก




รุ่นแรก





                                                              รุ่นสอง








รุ่นสาม




พระกริ่งรูปหล่อรมดำ


สายเอว
คาถาผูกสายเอว
พุทธังกายะพันธะนัง                             อาทิดถามิ
ธัมมังกายะพันธะนัง                              อาทิดถามิ
สังฆังกายะพันธะนัง                              อาทิดถามิ
คาถาเมื่อลอดสะพานหรือราวผ้า     ให้ลูบศรีษะว่าดังนี้
นะสะยะ  พุทธังทรง  ธัมมังทรง  สังฆังทรง
เมื่อลูกถือสายเอวนี้แล้ว   ห้ามไม่ให้ทำทุจริตทุกอย่าง      เช่น
                                ไม่อุกชิงวิ่งราวทรัพย์สมบัติของท่านผู้อื่น      และให้ตั้งอยู่ในมนุษยธรรม
                                คือศีล  ๕  ประการ      ขอให้ลูกมีความสุข   ความเจริญตลอดไป     อายุ     วรรณะ
                                สุขะ     พละ    ทุกเมื่อ   เทอญฯ  
พระครูพรหมจรรยาภิวัฒน์
หลวงพ่อเมือง        วัดมุขธาราราม       (ปากบางท่าพญา)



ผ้ายันต์
     
                                                                       ถ่ายภาพโดย  พลากร


12 ความคิดเห็น:

  1. อยากได้พระไปเช่าจัง


    น่าจะขลัง


    น่าเลื่อมใสมากๆ

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลสุดยอดค่ะ!

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณคับ

    ไม่บอกเราไ่ม่รู้เลยนะะเนี่ย

    ความรู้ใหม่

    ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  4. เพื่อนฝากมาเม็นอีกแระ

    ว่าความรู้ใหม่

    ตอบลบ
  5. มีข้อมูอื่นอีกครับ

    ตอบลบ
  6. ความรู้ทั้งนั้น = ='
    5555555

    ตอบลบ
  7. คลั่งอย่างแรงง หัวหน้าาา

    ตอบลบ
  8. เล่นซะเราไม่กล้าเม้นให้เลย

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณในความรู้ที่เผยแพร่ออกมานะ

    ตอบลบ
  10. สำหรับรูปสายเอวเป็นแบบโบราณซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีแบบถัก

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ19 ธันวาคม 2554 เวลา 01:06

    ผมมีหนึ่งเส้น แต่ไม่เคยท่องคาถาก่อนใส่เลย หลังจากนี้ไปจะท่องเระ จากเด็กปากพนัง

    ตอบลบ